รู้ได้ยังไง ว่าบ้านหลังใหน คือบ้านสำหรับทุกเจน

 สร้างบ้านให้รองรับทุกเพศ วัย ไปจนถึงทุกเจน ทำยังไง


ในระยะ 2-3 ปี มานี้ ประโยคนึงในวงการสร้างบ้าน ขายบ้าน

ที่ได้ยินกันบ่อย จนเริ่มคุ้นหู ก็น่าจะเป็น 


บ้านรองรับทุกเจนหรือเป็นบ้านที่อยู่ได้ทุกเพศ ทุกวัย


ถ้าฟังๆ มันก็คงเป็นเหมือนคำพูด คำโฆษณาทั่วไป

บางคนก็อาจฟังผ่านๆ หลายคนก็คงเชื่อตามนั้น 

แต่บางคนก็อาจเกิดคำถามขึ้นมาในใจ


ว่าบ้านที่รองรับการอยู่อาศัย ได้สำหรับทุกเพศ ทุกวัย นั้น 

มีจริงใหม หน้าตามันเป็นยังไง หรือจะตรวจสอบยังไงว่าเราได้บ้าน 

ที่มีแบบแปลน และฟังก์ชั่น รองรบการอยู่อาศัยไปชั่วชีวิต 

อย่างที่เค้าว่าจริงๆ 


คำถามแรก บ้านสำหรับทุกเจน มีจริงครับ 


ทีนี้ การออกแบบและสร้างบ้านเพื่อคนทุกวัย ทำได้อย่างไร


คำตอบก็คือ เมื่อไหร่ก็ตาม ที่มีเรื่องเพศ เรื่องวัย เรื่องการเปลี่ยนแปลงของชีวิต

ผสานรวมไปกับการใช้งานฟังก์ชั่นของข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน

เข้ามาเกี่ยวข้อง การออกแบบนั้น 


จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรศาสตร์เข้ามาช่วยในการออกแบบแปลนด้วย



ในเมืองไทยนั้น มีวิชาชีพ ที่เชี่ยวชาญด้าน สรีรศาสตร์เพื่อการออกแบบ

ก็เช่น นักกิจกรรมบำบัด (occupational specialist )  กายภาพบำบัด ( physiotherapist )

และนักการยศาสตร์  ( ergonomics design ) ซึ่งทีมผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้

จะผสานความรู้ด้านสายการแพทย์ นั่นคือ ด้านสรีรศาสตร์ 

เข้ากับงานด้านออกแบบทางสถาปัตยกรรม  

เพื่อปรับสภาพแปลนหรือฟังก์ชั่นบ้าน

ให้สอดคล้องกับการใช้งานในชีวิตจริง 


ไม่สามารถให้เฉพาะสถาปนิคหรือวิศวกรออกแบบเพียงคนเดียวได้


แล้วผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ เค้าทำอะไรกับแบบบ้านละ ??


ก็อย่างที่เกริ่นครับ เค้าจะเสนอแนะ ปรับแก้ วิธีการวางแปลน

และฟังก์ชั่นภายในบ้าน ให้กับทางสถาปนิคผู้ออกแบบ

ให้ทุกอย่างภายในบ้าน ใช้ได้ในชีวิตจริง แบบไม่ติดขัด


นี่เป็นปัญหาใหญ่มากนะครับ 


เพราะบ้านหลายหลัง ที่เสียเงินล้านสร้างไป 

เจอกับปัญหานี้แหละ คือ ชีวิตจริงใช้ยาก ไม่ดี หรือถึงขั้นใช้ไม่ได้ 


ซึ่งการออกแบบให้ใช้ได้ในชีวิตจริงนั้น 


ต้องไล่ปรับ ตั้งแต่ทางเข้า หน้าบ้าน โรงจอดรถ การเข้าออกจากรถ 

การเชื่อมต่อกับทางเข้าบ้าน ภายในตัวบ้าน การเชื่อมต่อภายในตัวบ้าน

การไปถึงชั้นสอง ลักษณะบันไดที่เหมาะสม สภาพห้องน้ำที่ถูกต้อง ฯลฯ


ตัวอย่างงานออกแบบ ที่ไม่สามารถใช้งานได้ ( แต่เสียเงินสร้างจริง )

ก็คือภาพที่โพส เป็นภาพอ่างล้างมือ สำหรับเด็ก ที่เด็กไม่สามารถใช้งานได้

เพราะมีแต่ระยะเตี้ย แต่ระยะเอื้อมตามสรีร ไม่ถูกต้อง 

และยังมีระยะความลึกของอ่างล้างหน้า ที่ผิดสรีรด้วย 


การออกแบบบ้านที่ไม่สอดคล้องกับสรีรศาสตร์


















เมื่อเด็กใช้งานไม่ได้ จึงเป็นภาระของผู้ปกครองที่ต้องมาช่วย

ด้วยการที่ต้องก้มตัวลงมาต่ำกว่าปกติ และโน้มไปข้างหน้า

เพราะก้อกอยู่ลึกเกินไป 


เรียกว่า ลำบากเด็ก ลำบากผู้ใหญ่ 


มันคือการล้มเหลวในเชิงออกแบบ


อ่านถึงตรงนี้ หลายคนคงคิดว่า 


การมีผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรศาสตร์มาทำงาน

และลงลึกด้านรายละเอียดมากมายเหล่านี้  งบสร้างบ้านคงบาน

เหนือบ้านทั่วๆไปอย่างแน่นวล 


อันนั้นแค่คิดไปเอง บ้านจะแพงขึ้นแค่ใหน 

มันขึ้นกับหลายปัจจัย อย่างใช้วัสดุพรีเมี่ยมแค่ใหน 

ตกแต่งหนักมือหรือเปล่า ขนาดบ้านใหญ่ขนาดใหน ซึ่งมันคนละเรื่อง

เพราะงบสร้างบ้านทุกเจน ที่ถูกต้องจริงๆ 

ไม่ต่างจากบ้านธรรมดา แต่สิ่งที่จะสูงขึ้นคือ คุณภาพชีวิต นี่แหละ 


--> หากอ่างล้างหน้าในภาพ มีผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรศาสตร์ และการจัดฟังก์ชั่นบ้าน

มาร่วมในงานออกแบบ ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นดังนี้


1. รูปลักษณะของขอบอ่างจะเปลี่ยนไป หรือจัดวางตำแหน่งของไว้จุดอื่นแทน

ไม่ใช่เคาน์เตอร์ลักษณะดังกล่าว ซึ่งมีความลึกมากจนเด็กเอื้อมไม่ถึง


2. เมื่อเคานเตอร์หายไป หรือเปลี่ยนตำแหน่งไปอยู่จุดอื่น สิ่งที่ตามมา

คือตำแหน่งติดตั้งหัวก้อก จะต้องย้ายมาอยู่ด้านข้าง จริงๆตำแหน่งก้อกด้านข้างนั้น

ไม่ว่าจะเป็นอ่างล้างมือสำหรับเด็ก หรือผู้ใหญ่ การวางก้อกด้านข้างนั้น 

ก็ถือเป็นตำแหน่งที่เหมาะสม และใช้สะดวกอย่างยิ่ง ในขณะที่บ้านส่วนใหญ่

จะทำตามๆกันคือ เอาก้อกไปไว้ด้านหลังสุด 


เอาจริงๆนะ รายละเอียดในโพส ที่อ่านดูยุบยับไปหมด 

ถ้าคนออกแบบรู้เรื่องสรีรเนี่ย ปัญหา

แก้ได้ง่ายๆ แค่ย้ายก้อกน้ำมาไว้ด้านข้าง ปัญหาจบเลย 

แต่ปัญหาคือ คนสร้างบ้านส่วนใหญ่ รวมทั้งคนออกแบบ

เค้าไม่ได้คิด เรื่องที่ว่า ตำแหน่งงานระบบในบ้านแต่ละอย่าง ที่เค้าเขียนแบบมา

มันใช้จริงๆได้รึเปล่า เพราะเค้าไม่ได้มี ภาพเรื่องสรีรของมนุษย์อยู่ด้วย

ในเวลาที่เขียนแบบบ้าน


3.กรณีหากจะไม่ย้ายตำแหน่งก้อกน้ำ มาไว้ด้านข้าง ก็ยังมีทางออกได้อีกแบบก็คือ

ใช้ก้อกที่มีก้านคันโยก และปากก้อก ที่มีความยาวมาแทนก้อกสั้น 



หากไม่มีผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ บ้านที่ออกแบบและสร้าง

ก็จะถือเป็นบ้านทั่วๆไปเท่านั้น

และฟังก์ชั่นบ้านที่มีนอกจากจะไม่สร้างความสะดวกสบาย

แต่ยังเอาปัญหาใหม่ ที่เจ้าของบ้านนึกไม่ถึง

มาเพิ่มให้อีกมากมายด้วย  

ซึ่งแบบบ้านเหล่านี้ไม่สามารถเป็นบ้านที่ยกระดับ

รองรับการอยู่อาศัย ทุกวัย ไปจนชั่วชีวิตได้



ตี๋ ณัฐวัฒน์


#กิจกรรมบำบัด

#กายภาพบำบัด

#การยศาสตร์

#occupationaltherapy

#physiotherapy

#ergonomicdesign

#รับเหมาก่อสร้าง
#ออกแบบบ้าน
#สร้างบ้านเชียงใหม่
#trueuniversaldesign
#บ้านฟังก์ชั่นคุณภาพ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น