รู้ได้ยังไง ว่าบ้านหลังใหน คือบ้านสำหรับทุกเจน

 สร้างบ้านให้รองรับทุกเพศ วัย ไปจนถึงทุกเจน ทำยังไง


ในระยะ 2-3 ปี มานี้ ประโยคนึงในวงการสร้างบ้าน ขายบ้าน

ที่ได้ยินกันบ่อย จนเริ่มคุ้นหู ก็น่าจะเป็น 


บ้านรองรับทุกเจนหรือเป็นบ้านที่อยู่ได้ทุกเพศ ทุกวัย


ถ้าฟังๆ มันก็คงเป็นเหมือนคำพูด คำโฆษณาทั่วไป

บางคนก็อาจฟังผ่านๆ หลายคนก็คงเชื่อตามนั้น 

แต่บางคนก็อาจเกิดคำถามขึ้นมาในใจ


ว่าบ้านที่รองรับการอยู่อาศัย ได้สำหรับทุกเพศ ทุกวัย นั้น 

มีจริงใหม หน้าตามันเป็นยังไง หรือจะตรวจสอบยังไงว่าเราได้บ้าน 

ที่มีแบบแปลน และฟังก์ชั่น รองรบการอยู่อาศัยไปชั่วชีวิต 

อย่างที่เค้าว่าจริงๆ 


คำถามแรก บ้านสำหรับทุกเจน มีจริงครับ 


ทีนี้ การออกแบบและสร้างบ้านเพื่อคนทุกวัย ทำได้อย่างไร


คำตอบก็คือ เมื่อไหร่ก็ตาม ที่มีเรื่องเพศ เรื่องวัย เรื่องการเปลี่ยนแปลงของชีวิต

ผสานรวมไปกับการใช้งานฟังก์ชั่นของข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน

เข้ามาเกี่ยวข้อง การออกแบบนั้น 


จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรศาสตร์เข้ามาช่วยในการออกแบบแปลนด้วย



ในเมืองไทยนั้น มีวิชาชีพ ที่เชี่ยวชาญด้าน สรีรศาสตร์เพื่อการออกแบบ

ก็เช่น นักกิจกรรมบำบัด (occupational specialist )  กายภาพบำบัด ( physiotherapist )

และนักการยศาสตร์  ( ergonomics design ) ซึ่งทีมผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้

จะผสานความรู้ด้านสายการแพทย์ นั่นคือ ด้านสรีรศาสตร์ 

เข้ากับงานด้านออกแบบทางสถาปัตยกรรม  

เพื่อปรับสภาพแปลนหรือฟังก์ชั่นบ้าน

ให้สอดคล้องกับการใช้งานในชีวิตจริง 


ไม่สามารถให้เฉพาะสถาปนิคหรือวิศวกรออกแบบเพียงคนเดียวได้


แล้วผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ เค้าทำอะไรกับแบบบ้านละ ??


ก็อย่างที่เกริ่นครับ เค้าจะเสนอแนะ ปรับแก้ วิธีการวางแปลน

และฟังก์ชั่นภายในบ้าน ให้กับทางสถาปนิคผู้ออกแบบ

ให้ทุกอย่างภายในบ้าน ใช้ได้ในชีวิตจริง แบบไม่ติดขัด


นี่เป็นปัญหาใหญ่มากนะครับ 


เพราะบ้านหลายหลัง ที่เสียเงินล้านสร้างไป 

เจอกับปัญหานี้แหละ คือ ชีวิตจริงใช้ยาก ไม่ดี หรือถึงขั้นใช้ไม่ได้ 


ซึ่งการออกแบบให้ใช้ได้ในชีวิตจริงนั้น 


ต้องไล่ปรับ ตั้งแต่ทางเข้า หน้าบ้าน โรงจอดรถ การเข้าออกจากรถ 

การเชื่อมต่อกับทางเข้าบ้าน ภายในตัวบ้าน การเชื่อมต่อภายในตัวบ้าน

การไปถึงชั้นสอง ลักษณะบันไดที่เหมาะสม สภาพห้องน้ำที่ถูกต้อง ฯลฯ


ตัวอย่างงานออกแบบ ที่ไม่สามารถใช้งานได้ ( แต่เสียเงินสร้างจริง )

ก็คือภาพที่โพส เป็นภาพอ่างล้างมือ สำหรับเด็ก ที่เด็กไม่สามารถใช้งานได้

เพราะมีแต่ระยะเตี้ย แต่ระยะเอื้อมตามสรีร ไม่ถูกต้อง 

และยังมีระยะความลึกของอ่างล้างหน้า ที่ผิดสรีรด้วย 


การออกแบบบ้านที่ไม่สอดคล้องกับสรีรศาสตร์


















เมื่อเด็กใช้งานไม่ได้ จึงเป็นภาระของผู้ปกครองที่ต้องมาช่วย

ด้วยการที่ต้องก้มตัวลงมาต่ำกว่าปกติ และโน้มไปข้างหน้า

เพราะก้อกอยู่ลึกเกินไป 


เรียกว่า ลำบากเด็ก ลำบากผู้ใหญ่ 


มันคือการล้มเหลวในเชิงออกแบบ


อ่านถึงตรงนี้ หลายคนคงคิดว่า 


การมีผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรศาสตร์มาทำงาน

และลงลึกด้านรายละเอียดมากมายเหล่านี้  งบสร้างบ้านคงบาน

เหนือบ้านทั่วๆไปอย่างแน่นวล 


อันนั้นแค่คิดไปเอง บ้านจะแพงขึ้นแค่ใหน 

มันขึ้นกับหลายปัจจัย อย่างใช้วัสดุพรีเมี่ยมแค่ใหน 

ตกแต่งหนักมือหรือเปล่า ขนาดบ้านใหญ่ขนาดใหน ซึ่งมันคนละเรื่อง

เพราะงบสร้างบ้านทุกเจน ที่ถูกต้องจริงๆ 

ไม่ต่างจากบ้านธรรมดา แต่สิ่งที่จะสูงขึ้นคือ คุณภาพชีวิต นี่แหละ 


--> หากอ่างล้างหน้าในภาพ มีผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรศาสตร์ และการจัดฟังก์ชั่นบ้าน

มาร่วมในงานออกแบบ ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นดังนี้


1. รูปลักษณะของขอบอ่างจะเปลี่ยนไป หรือจัดวางตำแหน่งของไว้จุดอื่นแทน

ไม่ใช่เคาน์เตอร์ลักษณะดังกล่าว ซึ่งมีความลึกมากจนเด็กเอื้อมไม่ถึง


2. เมื่อเคานเตอร์หายไป หรือเปลี่ยนตำแหน่งไปอยู่จุดอื่น สิ่งที่ตามมา

คือตำแหน่งติดตั้งหัวก้อก จะต้องย้ายมาอยู่ด้านข้าง จริงๆตำแหน่งก้อกด้านข้างนั้น

ไม่ว่าจะเป็นอ่างล้างมือสำหรับเด็ก หรือผู้ใหญ่ การวางก้อกด้านข้างนั้น 

ก็ถือเป็นตำแหน่งที่เหมาะสม และใช้สะดวกอย่างยิ่ง ในขณะที่บ้านส่วนใหญ่

จะทำตามๆกันคือ เอาก้อกไปไว้ด้านหลังสุด 


เอาจริงๆนะ รายละเอียดในโพส ที่อ่านดูยุบยับไปหมด 

ถ้าคนออกแบบรู้เรื่องสรีรเนี่ย ปัญหา

แก้ได้ง่ายๆ แค่ย้ายก้อกน้ำมาไว้ด้านข้าง ปัญหาจบเลย 

แต่ปัญหาคือ คนสร้างบ้านส่วนใหญ่ รวมทั้งคนออกแบบ

เค้าไม่ได้คิด เรื่องที่ว่า ตำแหน่งงานระบบในบ้านแต่ละอย่าง ที่เค้าเขียนแบบมา

มันใช้จริงๆได้รึเปล่า เพราะเค้าไม่ได้มี ภาพเรื่องสรีรของมนุษย์อยู่ด้วย

ในเวลาที่เขียนแบบบ้าน


3.กรณีหากจะไม่ย้ายตำแหน่งก้อกน้ำ มาไว้ด้านข้าง ก็ยังมีทางออกได้อีกแบบก็คือ

ใช้ก้อกที่มีก้านคันโยก และปากก้อก ที่มีความยาวมาแทนก้อกสั้น 



หากไม่มีผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ บ้านที่ออกแบบและสร้าง

ก็จะถือเป็นบ้านทั่วๆไปเท่านั้น

และฟังก์ชั่นบ้านที่มีนอกจากจะไม่สร้างความสะดวกสบาย

แต่ยังเอาปัญหาใหม่ ที่เจ้าของบ้านนึกไม่ถึง

มาเพิ่มให้อีกมากมายด้วย  

ซึ่งแบบบ้านเหล่านี้ไม่สามารถเป็นบ้านที่ยกระดับ

รองรับการอยู่อาศัย ทุกวัย ไปจนชั่วชีวิตได้



ตี๋ ณัฐวัฒน์


#กิจกรรมบำบัด

#กายภาพบำบัด

#การยศาสตร์

#occupationaltherapy

#physiotherapy

#ergonomicdesign

#รับเหมาก่อสร้าง
#ออกแบบบ้าน
#สร้างบ้านเชียงใหม่
#trueuniversaldesign
#บ้านฟังก์ชั่นคุณภาพ


5 ข้ออยากบอก เมื่อต้องออกแบบทางลาด

 ทางลาดคือ 1 ในฟังก์ชั่นที่มีประโยชน์มากที่สุดฟังก์ชั่นหนึ่งในบ้าน

เพราะมันคือสิ่งที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างทางต่างระดับ

2 บริเวณเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะมองจากมุมการประกอบกิจกรรมใดๆในบ้าน

หรือการสร้างประโยชน์ต่อสมาชิกแต่ละคน ที่อาศัยในบ้านดังกล่าว

ก็ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์อย่างมาก


เพียงแต่ในเมืองไทยนั้น มีภาพจำที่สืบทอดกันมาแบบผิดเพี้ยน

คือการนำทางลาดไปจับคู่กับคำว่า พิการ

ทำให้หลายคน พอเห็นทางลาด ก็จะพูดคำว่า นี่เอาไว้สำหรับผู้พิการใช้

ออกมาโดยอัติโนมัติทันที สังเกตดีๆนะครับ 


พอสมองเราไปด้อยค่าด้วยอคติ ความไม่เข้าใจ

ทำให้เรามักจะมองข้ามสิ่งดีๆ ที่เราเห็นไปชนิดที่ไปกันคนละเรื่องเลยทีเดียว


ทั้งๆที่ทางลาด ก็คือทางลาดหน้าที่เค้าก็คือเชื่อมสองบริเวณเข้าหากัน

มันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับความพิการทั้งสิ้น 

แต่หากจะมองให้สุดขั้วกว่านั้น 

ก็คือ ทางลาดในเมืองไทยที่เห็นๆกัน อย่าไปพูดถึงว่า

ออกแบบสร้างมาให้คนพิการใช้เถอะ แต่สภาพของทางลาด

คนปกติทั่วไป ยังไม่สามารถใช้ให้สะดวก ปลอดภัยได้เลย

เพราะวิธีการออกแบบและก่อสร้าง มันไม่ได้อยู่บนพื้นฐาน

ที่ให้ทางลาดสอดคล้องกับวิธีการใช้งานจริง 


หลายๆคนก็เลยเสียเงินทำทางลาดไปเปล่าๆ โดยที่ไม่ได้ประโยชน์อะไร

แถมหลายบ้านอาจจบด้วยอุบัติเหตุร้ายแรงตามมาอีก

เพราะสภาพของทางลาดไม่เหมาะใช้งาน


ทางลาด(ที่สร้างได้ถูกต้อง) มีประโยชน์อะไรบ้าง ตามนี้เลยครับ

1.ใช้แทนบันไดได้เลย 

2.โอกาสสะดุดน้อยกว่าบันไดเยอะ

3.เหมาะสำหรับบ้านที่มีออฟฟิศ ขนของสะดวกมาก

4.บ้านที่ซื้อของสดของแห้งเยอะๆบ่อยๆ ขนของไปครัวง่ายเลย

5.แฟนตั้งท้อง หรือมีลูกอ่อน ต้องใช้รถเข็นเด็ก

6.ผู้สูงอายุก็ใช้งานสะดวก 

7.สะดวกสำหรับผู้มาส่งของที่มีจำนวนมาก หรือน้ำหนักเยอะ 


โอย อีกเยอะเลยครับ 


คิดดูนะครับ บ้านอื่นเวลาจะพาลูกขึ้นรถ

ก็ต้องอุ้มลูกไปที่รถ ตามด้วยข้าวของเครื่องใช้พะรุงพะรัง 

และก็จบด้วยรถเข็นเด็ก มันทุลักทุเลมาก

(ไหนจะเจอที่จอดรถที่ออกแบบแคบๆ จนเข้าออกยากซ้ำไปอีก)

แต่ผมเอง กางรถเข็นตั้งในในตัวบ้านเลย วางลูกในรถ

พร้อมข้าวของจำเป็น จากนั้นก็เข็น เดินเท่ห์ ออกจากบ้าน

ลงทางลาด วนไปลงหลังรถ ตรงตำแหน่งประตูหลังพอดี

เปิดประตู เอาลูก เอาของขึ้นรถ

สะดวกสบายสุดๆ หล่อเลยครับ น่าใช้มากๆ



วันนี้ผมเลยเอา ข้อควรระวัง 5 ข้อ

มาฝากให้กับทุกท่าน เวลาที่จะลงมือ

ออกแบบบ้านที่มาพร้อมกับทางลาด

ว่ามีข้อควรระวังอะไรกันบ้าง

เพื่อไม่ให้เราเสียเงินค่าก่อสร้างไปฟรีๆ

ไปชมกันเลยครับ 


ตี๋ ณัฐวัฒน์ 



#รับเหมาก่อสร้าง
#ออกแบบบ้าน
#สร้างบ้านเชียงใหม่
#trueuniversaldesign
#บ้านฟังก์ชั่นคุณภาพ




คุณภาพชีวิตพังๆ กับผังบ้านแบบหลอนๆ

ก่อนที่เราจะไปให้ลึก ในเรื่องปัญหาผังบ้าน ว่ามันส่งผลกับคุณภาพชีวิตยังไง

ผมว่า เรามาย้อนกลับ ถึงเป้าหมายหรือสิ่งที่คาดหวังในใจของเรากันก่อน


คิดดูนะครับ เวลาเราจะทำอะไรซักอย่าง โดยเฉพาะเรื่องการปลูกบ้านเนี่ย

ผมหมายถึงในแง่จิตใจและความหวังนะครับ 

ทุกคนคาดหวัง การต้องการมีชีวิต โชคชะตาชีวิต หรือโชคลาภ

สุขภาพกายใจ ที่ดีกันทั้งนั้นถูกไหมครับ 


เพราะการคาดหวังแบบนี้ ทำให้คนเรา (คนไทย) จึงแสดงออกโดยการ

หาที่พึ่งทางใจ ทั้งที่จับต้องได้ หรือสัมผัสไม่เจอ ตั้งแต่


ดูดวงวันเกิด ดูฤกษ์ลงเสาเอก ดูทิศหน้าบ้าน หาที่ดินตามวันเกิด ตกฟาก

ดูฮวงจุ้ย ดูหมอ ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เชิญพระ เชิญผู้ใหญ่ มาสวด มาทำบุญ

ดูกำหนดย้ายเข้า บางทีรอเป็นครึ่งปีก็มี ใหนจะก้าวเท้าซ้ายหรือขวาก่อน

ในบ้านก็ต้องมีบันไดเลขคี่ ของสิ่งนี้ต้องวางตรงนี้ ห้ามวางตรงนั้น

ห้องประธานตรงใหน บริวารตรงใหน บางคนก็ต้องหาบกระบุงเงิน

กระบุงทองเข้าบ้านอีก  โหวว อีกบานเลย สาธยายไม่หมด


เอา ฯลฯ บรรยายแทนก็แล้วกันนะ


เชื่อใหมครับ มีครั้งนึง ตอนลูกค้า ( ฮ่องกง )​ ซึ่งแกก็อยู่เชียงใหม่มาหลายปีแล้ว 

มาให้ผมช่วยวางผังบ้าน โดยในมือถือกระดาษ

ลงรายละเอียดฮวงจุ้ยมา 4-5 แผ่น กระดาษ A3 

อ่านไม่ผิดครับ A3 จริงๆให้ตายเถอะ :)



















คิดดูนะครับ คนจีนเนี่ย ยังไงก็คนจีน

จะย้ายไปอยู่ใหน ก็ยังจีนอยู่ดี เชียงใหม่นี่คนจีนเยอะทีเดียว

แล้วเรื่องฮวงจุ้ยมาหนักกว่าพี่ไทยเยอะ 

ซึ่งเค้ายืนยันหนักแน่นว่า ถ้าเค้าจะปลูกบ้าน ต้องตามสูตรฮวงจุ้ยเท่านั้น

ไม่อย่างนั้น ชีวิตเค้าคงไม่มีความสุขอย่างแน่นอน


แต่อย่างหนึ่งที่ผมจะส่งสัญญาณให้เจ้าของบ้านคือ

ศาสตร์พวกนี้ เอามาใช้ตรงๆยาก เพราะมันต้องให้สอดคล้องกับ

ความเป็นจริงด้วย แต่ก็นะ มันต้องให้เห็นด้วยตาตัวเองก่อน


ผมก็เลย ให้เค้าลองเขียนแปลนบ้านบนกระดาษ 

ตามสูตรฮวงจุ้ย ที่เค้าไล่เรียงมา

ซึ่งก็ตามคาดแหละครับ แปลนบ้านเละเทะเลย 

แก้ไปแก้มา ห้องน้ำมาโผล่หน้าบ้าน 555 พังงง!!

ทำอยู่ตั้งนาน สุดท้ายก็ยอมแพ้ไปเอง 


เชื่อเถอะครับ บ้านโครงการต่างๆในเชียงใหม่

ในไทย มันก็ทำไม่ได้แบบนั้น


เอาล่ะ นั่นถือเป็นความเชื่อ ส่วนจะจริงหรือไม่จริง 

ทุกคนก็ต้องไปวิเคราะห์กันตามเหตุผลเอา

แต่ส่ิงที่ผมจะสื่อคือ ไอ้ตอนที่ยังไม่ลงมือทำแปลนบ้านจริงๆเนี่ย

โอ้โห มาทุกศาสตร์จริงๆครับ แต่พอเริ่มเสียตังค์ ทำแปลนบ้านแล้ว 

กลับใช้การหว่านหาซื้อแปลน แน่นอนว่า 

เน้นแปลนบ้านถูก ถ้าฟรี ได้ละก็ยิ่งแจ่ม

หลักการอะไรต่างๆ หายไปอย่างสิ้นเชิง 

มันขัดแย้งกับ ความคาดหวัง ที่ต้องการมีคุณภาพชีวิตดีๆ

จากการมีบ้านซักหลัก ถูกใหมครับ 

ตกลงยังไงเนี่ย 


อะแฮ่มม


สุดท้าย แปลนบ้านที่ได้มา ก็ขัดกับทุกอย่างที่ตั้งเป้าไว้นั่นแหละ 

บางทีอาการนี้ของเจ้าของบ้านหลายๆคน ก็ทำเอาผมงงไปหลายวัน หลายคนนะ

ได้แต่เกาหัว แกรกๆ แต่ก็เอาน่ะ 

ถ้าเจ้าของบ้าน ปลดล้อกเรื่องต่างๆที่ว่า 

ลงไปได้หลายอย่างก็อาจทำงานง่ายขึ้น


ทีนี้เรากลับเรื่องแปลนบ้านเจ้าปัญหาที่ว่ากันนี้ดีกว่า 

ปกติทางผมกับทีมสถาปนิค จะกำหนดแนวทางการออกแบบแปลนบ้านกันไว้

ให้ยึด 2 หลักการใหญ่ๆไว้ อย่าให้หลุด นั่นก็คือ


ฟังก์ชั่นของบ้านตั้งแต่ หน้าบ้าน จนถึงหลังบ้านนั้น

จะต้องเข้าสูตร สอดคล้องกับการใช้ชีวิตจริง

และต้องอิงกับด้านสรีรศาสตร์ของมนุษย์ด้วย


ซึ่ง 2 เรื่องนี้ที่ผมพูดไว้ในบทความตอนที่ 2 นั่นแหละ 

ซึ่งมันเป็นปัญหาใหญ่อย่างมาก สำหรับคนที่จะมีบ้านซักหลัง 

แต่คนจะรู้ตัว ก็ต่อเมื่อ จ่ายเงินสร้างบ้านเสร็จเข้าอยู่เรียบร้อย

ครับจ่ายเงินล้าน เพื่อได้บ้าน ที่สร้างปัญหาชีวิตพูดแบบนี้ก็น่าจะตรงเป๊ะ



คำว่า ออกแบบฟังก์ชั่นบ้านให้สอดคล้องกับชีวิต และอิงกับสรีรเนี่ย

ถ้าได้เห็นตัวอย่างแล้ว มันเข้าใจง่ายขึ้น และพิสูจน์จับต้องได้ทันทีด้วย

ไม่ต้องรอคอยใดๆ


เช่นตัวอย่าง การออกแบบโรงจอดรถ ที่ผมประเดิมไว้ในตอนที่ 2 นั่นไง

ใครมีโรงจอดรถแบบนี้ ยากจะมีความสุขครับ 

เพราะมันติดขัดจริงๆ คิดดูนะครับ ว่าเราต้องเจอประสบการณ์แย่ๆ

ในการใช้โรงรถแบบนี้ 365 วัน และไปชั่วชีวิตจนกว่าเราจะไม่อยู่บ้านหลังนั้นอีกต่อไป


เจ้าของบ้านทำได้แต่เพียง บ่นก่นด่า คนออกแบบ หรือสถาปนิค

ทำได้แค่นั้นแหละครับ เพราะขั้นตอนของการระมัดระวังคุณภาพแปลนบ้านนั้น


มันผ่านไปนานแล้ว 


และก็อาจมาจบด้วยประโยคคลาสสิคที่ใช้ได้ในทุกวงการนั้นก็คือ  “รู้งี้.....”


เอาล่ะ วันนี้ผมจะลองยกตัวอย่าง ฟังก์ชั่นบ้านพังๆ ที่พบได้ในผังบ้านทั่วไป ให้ดู

ใครมีบ้านที่ตรงกับที่ผมเล่า ก็ขอให้โชคดีนะครับ ปวดหัวตุ้บๆเลย


นี่เลยครับ 


โรงจอดรถแบบ พี่ดอม ทอเรตโต้ 










บ้านสร้างเสร็จพร้อมขายที่เชียงใหม่หลังนี้นี่นะ ตอนผมไปเยี่ยมครั้งแรก 

เพราะเค้าตามผมกับทีมงาน เข้าไปดูเรื่องแก้ไขปัญหาภายในบ้าน

ซึ่งบ้านหลังนี้เพิ่งทำเสร็จและรับมอบมาจากโครงการ 

แปลนบ้านทั้งหลัง ทำเอาผมทึ่งมากเลยทีเดียวล่ะ

มีหลายๆอย่างที่ชวนปวดมาก เอาเรื่องแรกก่อน


ก็คือบ้านหลังนี้นั้น ออกแบบให้โรงจอดรถอยู่สุดหลังบ้าน

โดยที่ข้างบ้านนั้น ออกแบบให้เป็นซุ้มที่จอดชั่วคราว เพื่อให้สมาชิกทุกคน

ยกเว้นคนขับนั้น ลงจากรถ แล้วคนขับก็ขับตรงไปจอดที่โรงรถ


ซึ่งระยะทางจากประตูใหญ่ทางเข้า ไปจนถึงทางเข้านั้น 

น่าจะเกือบ 80-100 m เลย ที่ดินใหญ่พอควร


















แต่ปัญหาของบ้านหลังนี้คือ เจ้าของบ้านไม่จอดรถที่โรงรถเลย

(เรียกให้ถูก คือไม่สามารถจอดได้ดีกว่านะ)

แต่จะจอดด้านนอกบ้านแทน ใช่ครับ จอดหน้าประตูเข้าบ้าน 

เพราะปัญหาที่เกิดจาก การออกแบบแปลนบ้าน ก็คือ 


มันไม่สอดคล้องกับชีวิตจริง เรื่องการขับรถนี่แหละ 

ในชีวิตจริง เวลาที่เราขับรถเข้าบ้าน เราจะต้องมีตำแหน่งจอดรถที่สะดวก

มีพื้นที่สำหรับเปลี่ยนทิศทางรถ และมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน




















แต่หลังนี้ถูกวางไว้หลังสุดของที่ดิน

และถนนทางเข้าที่ออกแบบเป็นแบบ พอดี 1คันรถ และไม่มีทางให้ถอย

ถ้าถอยเพื่อกลับหัวรถ คือตกไปที่สนามหญ้า ที่เป็นพื้นต่างระดับ ++

ดังนั้น โรงรถบ้านหลังนี้ จะเข้าได้โดยการขับตรงเข้าไป เกือบๆ 100 m


จากนั้น เมื่อต้องการขับรถออกจากบ้าน ก็ไม่มีบริเวณสำหรับให้กลับรถ

ทำให้เจ้าของบ้าน ต้องถอยรถออกจากบ้านเป็นระยะ 100 m ทุกๆวัน

คิดดูนะครับ เจ้าของบ้านอายุก็ไม่น้อยแล้ว ใหนจะเป็นเรื่องทักษะ

การขับรถอีก แล้วต้องมาถอยรถเข้าออกบ้านแบบนี้ 

มันคือความทุกข์นะครับ  




















วิธีการออกจากโรงรถแบบนี้ ก็อย่างที่ผมเกริ่นไว้แหละ

พี่ดอม ทอเรตโต้ เท่านั้น ถึงจะออกมาได้แบบปกติ วิธีก็คือ 

การถอยหลังแล้วดริฟท์ หันหัวรถกลับมา   ซร้าวววววววปปปปปป

หันหัวรถกลับมา แล้วขับออกจากบ้านไป อย่างเท่ห์ๆ



แต่ในชีวิตจริง มันไม่ใช่ครับ 

พี่ดอมเลยกลายเป็น พี่งอมไปซะก่อน 

ตัดปัญหาชีวิต ด้วยการจอดรถมันหน้าบ้านนั่นละวะ


























พอจำเป็นต้องจอดรถหน้าบ้าน ปัญหาชีวิตอย่างอื่นก็ตามมา


1.มันไม่สะดวก เพราะมันต้องเดินเข้าไปอีก 

2.เวลาฝนตก ก็ยิ่งแย่ ทำใมต้องเปียกด้วย

3.เวลาช้อปปิ้ง ซื้อของ ยิ่งหนัก ก็ต้องแบกใกล

4.รถก็ต้องตากแดดทั้งวัน ทั้งที่มีโรงจอดให้เห็นคาตา

5.จะทำให้มีพื้นที่หน้าโรงจอดกว้างขึ้น เพื่อให้กลับรถได้ ก็ต้องเสียเงินทำอีกเป็นแสน

6.ถ้าไม่เอาเงินแสนออกมาแก้ปัญหา ก็ต้องทนจอดแบบนี้ไปตลอด



แต่ขอโทษอีกทีครับ ความเจ็บปวดไม่ได้จบอยู่แค่นี้

เพราะว่า บ้านหลังนี้ แลกมาด้วยเงินค่าตัวร่วมๆ 20 ล้านเลย

แล้วเจอที่จอดรถแบบนี้ เป็นบ้านที่ให้สุดยอดประสบการณ์ อย่างที่ลืมไม่ลง


ถ้าเป็นคนนอก ที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ได้ยินว่า บ้านราคา 20 ล้านมันต้องโคตรแจ่ม

ดูดี อยู่สบายสุดๆ ก็นั่นละฮะ ทั่นผู้ชม 


คุณภาพชีวิตจากการมีบ้านนั้น ไม่ได้ขึ้นกับค่าตัวบ้านเลย

ต่อให้เป็นโครงการบ้านใหญ่แค่ใหน แพงแค่ใหน 

ก็หนีปัญหาฟังก์ชั่นบ้านพังๆไม่พ้น ถ้าฟังก์ชั่นบ้านไม่ดี อยู่ในบ้านแพงๆ 

มันจะทำให้เราขาดทุนชีวิตมากกว่าบ้านราคาที่ถูกกว่า


ถ้าเราดู หรือวิเคราะห์แปลนไม่เป็น

ซึ่งปัญหามันแสดงออกแบบไม่กั้ก ให้เห็นอยู่แล้ว

ขึ้นกับว่า เราดูออกหรือเปล่า หรือเรามัวแต่ไปดูวัน เวลา ฤกษ์ยาม

หรือดูอะไรไม่รู้ ที่จับต้องยากมาก แต่ไม่ดูความเป็นจริง

ที่ตั้งอยู่ข้างหน้าเรา แต่เราไปโอบรับเข้ามา 

เพราะตั้งความเชื่อที่ว่า เค้าทำมาดีแล้ว ออกแบบมาดีแล้ว 

บ้านแพงนะ ต้องดีแน่เลย 

สุดท้ายเลยเหยียบเท้าเข้าไปรับปัญหาชีวิตมาเต็มๆเสียอย่างนั้น


พูดถึงแต่ปัญหา มันคงไม่ดีแน่ เราลองมาดูวิธีแก้ 

หรือหมายถึงการออกแบบแปลนบ้าน ตั้งแต่ครั้งแรกกัน

ว่าถ้าเรายึดหลัก ให้การใช้งานสอดคล้องกับชีวิตจริง

และอิงกับสรีร หน้าตาจะออกมาแบบไหน


อย่างที่


ไม่ว่าจะกำหนดตำแหน่งที่จอดรถไว้หน้าบ้าน ข้างบ้าน หรือหลังบ้านก็ตาม

ตำแหน่งประตูใหญ่ เพื่อเข้าบ้านนั้น ควรจะอยู่ฝั่งซ้ายไม่ใช่ฝั่งขวาของแปลน




















การที่เราวางตำแหน่งประตูใหญ่ ไว้ตรงนี้ จะทำให้รถมีพื้นที่เหลือด้านหน้า

แล้วสามารถถอยหลังเข้าบ้านได้เลย คือได้ประโยชน์จากพื้นที่หน้าบ้านไปด้วย

เนื่องจากประตูใหญ่อันเดิมนั้น ไปชิดรั้วฝั่งขวา ทำให้เป็นการบังคับให้รถ

ต้องเลี้ยวหักหัวเข้าบ้านเท่านั้น ไม่สามารถเริ่มถอยตั้งแต่หน้าบ้าน 

หรือถ้าจะถอยจริงๆ ก็ต้องตั้งลำ หักพวกมาลัยกันหลายรอบมาก 


อย่างที่


ต้องมีบริเวณให้รถสามารถกลับลำได้ ไม่ว่าโรงรถนั้นจะอยู่ตำแหน่งใหนก็ตาม

เพราะรถไม่ใช่โฟม นุ่มๆเบาๆ ที่อยู่ดีๆ เราจะไปยกมันหันกลับไปทางนั้นทางนี้

ทำแค่ 2 ข้อนี้ตั้งแต่แรก โรงจอดรถของบ้านหลังนี้ก็จะกลับมาใช้งานได้เป็นปกติแล้ว 



















สำหรับใครที่กำลังอยู่ระหว่าง วางแผน วางแปลน ออกแบบบ้านแล้วมาอ่านเจอโพสนี้พอดี

ก็ลองเอาแปลนบ้านขึ้นมากาง เอารถของเล่นมาวิ่งจินตนาการดู

จำลองสถานการณ์จริง ก็อาจจะได้คำตอบทันที 

ว่าแปลนบ้านที่คนออกแบบกำลังทำให้เรา เค้าคิดมาบนพื้นฐานชีวิตจริงๆ

และอิงกับสรีรการใช้งานหรือเปล่า

หรือแค่ออกแบบบ้านในลักษณะฟังก์ชั่นจับยัด อัดๆเข้าไปให้มีครบ ก็จบงาน รับตังค์

ส่วนปัญหาคุณภาพชีวิตพังๆ เป็นของเจ้าบ้านครับ 


แต่อีกมุมนะ แปลนบ้านฟรี แปลนบ้านถูกๆ ไม่มีใครอยากจะมาเขียนให้ดีให้ละเอียดหรอก

คุณภาพก็ตามราคาครับ แปลนบ้านดีๆซักแปลนนั้น ใช้พลังความคิด สมอง จินตนาสูงมาก 

ทำไปแก้ไป ไม่รู้กี่รอบ ไม่หลับไม่นอน  แต่แปลนแพงก็ไม่ได้แปลว่าจะโอเคเช่นกัน 

เพราะมันเป็นความต่างเรื่องทักษะฝีมือ 


ดังนั้นในฐานะเจ้าของเงิน

เจ้าของบ้าน สร้างภูมิคุ้มกันตัวเองไว้ดีกว่า ฝึกอ่านแปลนไว้ก่อนจะต้องกลุ้มใจทีหลังนะ


ตี๋ ณัฐวัฒน์ 



#รับเหมาก่อสร้าง
#ออกแบบบ้าน
#สร้างบ้านเชียงใหม่
#trueuniversaldesign
#บ้านฟังก์ชั่นคุณภาพ